วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2560

กลไกการเกิด tachycardia มีอะไร แล้วมีหลักการดูอย่างไร (EKG -73)

            กลไกการเกิด tachycardia นั้นมีอยู่ 3 อย่างด้วยกัน คือ
            1. Abnormal automaticity
            โดยปกติแล้ว ในร่างกายจะมี pacemaker cell ที่สามารถทำให้เกิดหัวใจเต้นขึ้นได้เอง เรียกว่า automatism ซึ่งถ้าออกแรงจะทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นเป็น normal automaticity แต่ในบางรายที่ abnormal automaticity ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นได้เองโดยที่ไม่สัมพันธ์กับการออกกำลังของผู้ป่วย
            ลักษณะของ abnormal automaticity นั้นจะมีลักษณะการเกิดอย่างค่อยเป็นค่อยไป (gradual onset) หรือที่เรียกว่า warmup และตอนหายจาก arrhythmia จะมีลักษณะค่อยๆ หาย (gradual offset) หรือที่เรียกว่า cooldown ดังนั้นการเกิด arrhythmia ถ้าเกิดจาก abnormal automaticity จะมี warmup-cooldown phenomenon ให้เห็นได้
            2. Trigger activity
            เกิดจากมี abnormal trigger เพื่อกระตุ้นให้เกิด activity ขึ้นมาในช่วง afterdepolarization (หรือ repolarization ที่ยังไม่กลับสู่ resting state) ทำให้ใช้ voltage ในการกระตุ้นไม่มาก ก็ถึง threshold ในการกระตุ้นให้เกิด action potential ได้
            ลักษณะการเกิดและหายของ trigger activity จะมีลักษณะคล้ายกับ abnormal automaticity
            3. Re-entry
            การเกิด arrhythmia โดยกลไก re-entry นี้จะประกอบด้วย bidirectional pathway ที่ครบวง, เกิด unidirectional block ทำให้การเกิดหมุนวงจรไปทางเดียว และเกิด PAC หรือ PVC มาตกในวงจรที่เหมาะสม ทำให้เกิดการหมุนวนครบวง ใน re-entry นี้ไปเรื่อยๆ ไม่สิ้นสุด

            ลักษณะการเกิดของ re-entry นี้จะเกิดโดย PAC หรือ PVC มาตกในจังหวะที่เหมาะสม จากนั้นจะเกิด arrhythmia ขึ้นมาทันทีทันใด (abrupt onset) และเวลาหายจะเกิดโดย PAC หรือ PVC ทำให้เกิดการหายอย่างทันทีทันใด (abrupt offset) ซึ่งแตกต่างกับ 2 กลไกแรกที่กล่าวมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น