วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การเรียกชื่อ เขาเรียกกันอย่างไร (EKG -23)

                การเรียกชื่อนั้น จะมีคำสองคำมารวมกัน โดยคำแรกเป็นคำบอก rhythm และคำหลังเป็นคำบอก rate ของหัวใจ ดังเช่น
                1. Normal sinus rhythm หมายถึงมี P wave รูปร่างแบบ sinus ที่เต้น rate ปกติ (ถ้าไม่มีต่อท้ายอะไรมักหมายถึง P wave ต่อ QRS complex มักเป็นอัตราหนึ่งต่อหนึ่ง จะเปลี่ยนแปลงถ้ามี AV block ร่วมด้วย)
                2. Sinus bradycardia หมายถึง มี P wave รูปร่างแบบ sinus ที่เต้น rate เข้า zone bradycardia
                3. Sinus tachycardia หมายถึง มี P wave รูปร่างแบบ sinus ที่เต้น rate เข้า zone tachycardia
                4. Sinus flutter/fibrillation นั้นไม่มีเนื่องจาก SA node ไม่สามารถให้กำเนิดอัตราการเต้นได้เกิน 180 ครั้งต่อนาที ทำให้ไม่สามารถเต้นจนเข้า zone flutter/fibrillation ได้
                5. Atrial rhythm หมายถึง มี P wave รูปร่างไม่เหมือน sinus rhythm ที่เต้น rate ปกติ
                6. Atrial bradycardia หมายถึง มี P wave รูปร่างไม่เหมือน sinus rhythm ที่เต้น rate เข้า zone bradycardia (แต่มักไม่เรียก atrial bradycardia เนื่องจากปกติถ้า atrial rhythm เต้นช้า SA node จะเต้นได้อยู่แล้ว แต่ถ้าไม่มี SA node เต้นโดยมี atrial rhythm ที่ออกมาแบบช้า แสดงว่า sinus node ไม่ทำงานแล้วเกิด atrial escape ออกมาเพื่อช่วยชีวิต จึงมักเรียก sinus arrest with atrial escape มากกว่า)
                7. Atrial tachycardia หมายถึง มี P wave รูปร่างไม่เหมือน sinus rhythm ที่เต้น rate เข้า zone tachycardia
                8. Atrial flutter หมายถึง มี P wave รูปร่างไม่เหมือน sinus rhythm ที่เต้น rate เข้า zone flutter (250 – 349 ครั้งต่อนาที) ซึ่งมักจะมี PP interval อยู่ประมาณ 4.5 – 6 ช่องเล็ก ทำให้เห็นเป็นลักษณะของฟันเลื่อยขึ้นมานั่นเอง แต่การบอก atrial flutter นั้นจะเป็นการบอก atrial rate เพียงอย่างเดียวโดยไม่บอก ventricular rate ดังนั้นในการอ่าน atrial flutter จะต้องบอก AV conduction ว่าเป็นอย่างไร เช่น 1:1 , 2:1 , 3:1 หรือ varying AV block เพื่อบอกถึง ventricular rate ในผู้ป่วยรายนั้น
                9. Atrial fibrillation หมายถึง มี P wave รูปร่างไม่เหมือน sinus rhythm ที่เต้น rate เข้า zone fibrillation โดยถ้าเป็น coarse AF จะยังสามารถเห็น P wave ที่รูปร่างไม่เหมือนกันได้อยู่ แต่ใน fine AF อาจจะไม่สามารถเห็น P wave ได้แล้ว ซึ่ง atrial fibrillation นั้นจะบอกแค่ atrial rate ไม่บอกถึง ventricular rate เหมือนกัน ดังนั้นในการอ่าน atrial fibrillation จะต้องมีการอ่าน ventricular response rate ด้วย โดย
                                - AF with rapid ventricular response คือ AF ที่มี ventricular rate ตั้งแต่ 100 ครั้งต่อนาที
                                - AF with moderate ventricular response คือ AF ที่มี ventricular rate 60 – 99 ครั้งต่อนาที
                                - AF with slow ventricular response คือ AF ที่มี ventricular rate น้อยกว่า 60 ครั้งต่อนาที
                10. Junctional rhythm หมายถึง มี QRS complex รูปร่างเหมือน juctional rhythm เต้น rate ปกติ (ปกติของ junctional rhythm จะอยู่ที่ 40 – 60 ครั้งต่อนาที)
                11. Junctional bradycardia มักไม่ค่อยอ่านกัน เนื่องจากถ้าเห็น QRS complex รูปร่างเหมือน junctional rhythm ที่อัตราเต้นน้อยกว่า 40 ครั้งต่อนาทีเรามักเรียก junctional escape beat (เหมือน atrial escape beat ข้างต้น)
                12. Junctional tachycardia หมายถึง มี QRS complex รูปร่างเหมือน junctional rhythm ที่เต้น rate zone tachycardia
                13. Junctional flutter/fibrillation นั้นไม่มี เนื่องจาก AV node จะคล้ายกับ SA node คือไม่สามารถสร้างอัตราการเต้นได้เกิน 180 ครั้งต่อนาที ทำให้ไม่สามารถเต้นเข้า zone flutter/fibrillation ได้
                14. Idioventricular rhythm หมายถึง มี QRS complex ที่ออกมานั้นรูปร่างเหมือน ventricular rhythm ที่เต้น rate ปกติ (20 – 40 ครั้งต่อนาที)
                15. Ventricular tachycardia หมายถึง มี QRS complex ที่รูปร่างเหมือน ventricular rhythm ที่เต้นเร็วเข้า zone tachycardia มีอยู่ 2 ลักษณะคือ
                                - Monomorphic VT หมายถึง VT ที่รูปร่าง QRS complex ที่เป็น ventricular rhythm เหมือนกันทุกตัว
                                -Polymorphic VT หมายถึง VT ที่รูปร่าง QRS complex ที่เป็น ventricular rhythm นั้นมีหลายรูปร่างแตกต่างกันไป
                16. Ventricular flutter หมายถึง มี QRS complex ที่รูปร่างเหมือน ventricular rhythm ที่เต้นเร็วเข้า zone flutter ซึ่งมักไม่คงที่และกลายเป็น ventricular fibrillation ไปก่อน

                17. Ventricular fibrillation หมายถึง มี QRS complex ที่รูปร่างเหมือน ventricular rhythm ที่เต้นเร็วเข้า zone fibrillation ทำให้รูปร่าง QRS complex ไม่เหมือนกันเลย 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น